วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลพระอัฐมรามาธิบดินทร(รัชกาลที่9)


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระราชสมภพ: 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะนี้ จึงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในโลกที่มีพระชนมชีพอยู่ และยาวนานที่สุดในประเทศไทย 

พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากระบอบทหารเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยได้โดยตลอดรอดฝั่งในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530

 และได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น ในคราวปี 2524 และปี 2528 กระนั้น ก็ได้ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอำนาจหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน 

ในช่วงปลายพุทธทศวรรษที่ 2540 ตลอดรัชสมัยของพระองค์จนถึงปี พ.ศ. 2555 ได้เกิดการรัฐประหารโดยกองทัพมากกว่า 15 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ และนายกรัฐมนตรี 28 คน 

ประชาชนชาวไทยจำนวนมากเคารพพระองค์ อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญา

คณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้ 

พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์กับทั้งพระองค์ยังทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ งานพระราชนิพนธ์ และงานดนตรีจำนวนหนึ่งด้วย

ด้านสินทรัพย์ของพระองค์นิตยสารฟอบส์ประเมินว่า พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมถึงสินทรัพย์ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จัดการอยู่นั้น มีมากกว่าสามหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งได้จัดอันดับให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลก 3 ปีติดต่อกันมาจนปัจจุบัน

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นใช้สินทรัพย์เพื่อสวัสดิการสาธารณะ เช่น เพื่อพัฒนาเยาวชน แต่ได้รับการยกเว้นมิต้องจ่ายภาษีและให้เปิดเผยการเงินต่อพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว

ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็ได้ทรงอุทิศพระวรกายและพระราชทรัพย์ไปในโครงการพัฒนาประเทศไทยหลายต่อหลายโครงการ โดยเฉพาะในทางเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ ทรัพยากรน้ำ สวัสดิการทางคมนาคม และสวัสดิการสาธารณะ อนุสรณ์ถึงพระองค์นั้นพบได้ดาษดื่นในสื่อมวลชนไทย 

นับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2552 พระองค์แปรพระราชฐานจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไป โรงพยาบาลศิริราช อันเนื่องมาจากพระโรคไข้หวัดและพระปัปผาสะอักเสบ 

ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้น ข่าวลือว่าพระอาการประชวรทรุดหนักลง ได้ยังให้ตลาดหุ้นไทยร่วงลงอย่างสาหัส พระองค์ทรงหายจากประชวรเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

                        
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436— 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 9 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (นับศักราชแบบเก่า) รวมดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวมพระชนมพรรษา 47 พรรษา
พระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง โปรดให้ตั้งสภากรรมการองคมนตรี ทรงตรากฎหมายเพื่อควบคุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน ระบบเทศบาล ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรมนั้น พระองค์โปรดให้สร้างหอพระสมุด ทรงปฏิรูปการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ มีการปรับปรุงการศึกษาจนยกระดับมาตรฐานถึงปริญญาตรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยสมบูรณ์ ชื่อว่า “พระไตรปิฎกสยามรัฐ” เป็นต้น
สำหรับชีวิตส่วนพระองค์นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์) ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดา แต่มีพระราชโอรสบุญธรรมคือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต
และพระองค์ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก(UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 เนื่องในวโรกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 100 ปี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

                            
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี
     พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย
ขณะดำรงพระยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ในระหว่างปิดภาคเรียนขณะทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศส[80] และเสด็จทอดพระเนตรกิจการทหารของประเทศในภาคพื้นยุโรปเป็นเนืองนิจ ในปีพ.ศ. 2445 ขณะทรงพระชนมายุ 22 พรรษา หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดแล้ว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส และเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปจนถึงประเทศอียิปต์เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี จากนั้นประทับอยู่ในกรุงลอนดอนระยะหนึ่งเพื่อเตรียมพระองค์นิวัตประเทศไทย[81]
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460[82] โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียเป็นผู้นำ พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ในการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เช่น สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สนธิสัญญาจำกัดอำนาจกลางประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙)

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุดในประเทศไทย
         พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น ในคราวปี 2524 และปี 2528 กระนั้น ก็ได้ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอำนาจหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ในช่วงปลายพุทธทศวรรษที่ 2540 ตลอดรัชกาลของพระองค์ เกิดรัฐประหารโดยกองทัพ 13 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 16 ฉบับ และนายกรัฐมนตรี 27 คน
         ประชาชนชาวไทยจำนวนมากเคารพพระองค์ อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญา กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้
         พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์ กับทั้งพระองค์ยังทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ งานพระราชนิพนธ์ และงานดนตรีจำนวนหนึ่งด้วย ด้านสินทรัพย์ของพระองค์นิตยสารฟอบส์จัดอันดับให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลก ตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2556 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 พระองค์มีพระราชทรัพย์ 30,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ดูหมายเหตุด้านล่าง) ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็ได้ทรงอุทิศพระราชทรัพย์ไปในโครงการพัฒนาประเทศไทยหลายต่อหลายโครงการ โดยเฉพาะในทางเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ ทรัพยากรน้ำ สวัสดิการทางคมนาคม และสวัสดิการสาธารณะ
         นับแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 พระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับรักษาพระอาการพระโรคไข้หวัดและพระปัปผาสะอักเสบ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ตลอดมา แต่พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15:52 น. สิริพระชนมายุ 88 ปี 313 วัน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงได้รับการยกย่องเป็นพระปิยะมหาราช ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยพระปรีชาสามารถสุขุมคัมภีร์ภาพจนรอดพ้นจากลัทธิ ล่าอาณานิคมทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยให้สอดคล้องกับตะวันตก ทรงมีพระราชดำริให้เลิกทาสเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมในเรื่องสิทธิมนุษยชนให้มี ความเสมอภาคในสังคมไทย นอกจากนี้ยังทรงปรับปรุงการคมนาคม การสื่อสาร การศึกษา จนเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศไทยมาจนทุกวันนี้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีนโยบายเปิดประเทศและรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับปรุงผสมผสานกับ วัฒนธรรมไทยทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ตระหนักถึงความสำคัญทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น“พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

เซอร์ จอห์น เบาริง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริงกับประเทศอังกฤษ โดยหัวหน้าคณะทูตที่มาเจรจา คือ เซอร์ จอห์น เบาริง ซึ่งสนธิสัญญาฉบับนี้เป็นต้นแบบในการทำสัญญากับชาติตะวันตกอื่น แม้ผลของสนธิสัญญาเบาริงจะมีผลกระทบทางด้านการเมืองเพราะชาวต่างชาติที่มา ติดต่อกับไทยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฏหมายไทยก็ตาม แต่ก็ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจากการผลิตในครัวเรือนมาเป็นการผลิตเพื่อ การค้า ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมในเรื่องการยกเลิกการเกณฑ์ไพร่และแรงงานใน เวลาต่อมา เซอร์ จอห์น เบาริง ยังได้มีบทบาทเป็นผู้สำเร็จราชการดูแลกงสุลไทยในยุโรป และเป็นราชทูตแห่งสยามไปเจริญสนธิสัญญาการค้ากับประเทศนอร์เวย์ สวีเดน และเบลเยี่ยม
หมอบ รัดเลย์ หมอบรัดเลย์เป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทย คือท่านได้สั่งแท่นพิมพ์ภาษาไทยเข้ามาตั้งโรงพิมพ์แห่งแรก ทำให้กิจการหนังสือพิพม์เกิดขึ้นในประเทศไทย หนังสือพิมพ์ฉบับแรกในเมืองไทยคือ บางกอกรีคอร์เดอร์ เป็นของชาวต่างประเทศ ส่วนวารสารฉบับแรกของไทยออกโดยทางราชการไทยได้แก่ ราชกิจจานุเบกษา ความก้าวหน้าทางการพิมพ์ทำให้มีการเผยแพร่ประวัติ ตำนาน ขนบธรรมเนียม ความรู้และศาสนา ระหว่างชาวไทยและชาวต่างชาติ ก่อให้เกิดความเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีของกันและกัน ช่วยให้การติดต่อระหว่างกันสะดวกสบายขึ้นเป็นอันมากนอกจากนี้หมอบรัดเลย์ได้ เริ่มเป็นผู้วางรากฐานวิชาการแพทย์สมัยใหม่ในประเทศไทยโดยได้เริ่มเป็นผู้ทำ การผ่าตัดครั้งแรกในเมืองไทย

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)



             พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ใน สมัยรัชกาลที่ ๓ ได้รับเอาวัฒนธรรมจีนมาดัดแปลงผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยเป็นอันมาก โดยเฉพาะงานการสร้างศิลปวัตถุและวัดวาอาราม เนื่องจากทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา รัชสมัยของพระองค์จึงมีการสร้างและทำนุบำรุงวัดในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก งานศิลปกรรมวัฒนธรรมมุ่งสร้างเพื่อถวายแด่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังทรงสนับสนุนให้นักปราชญ์จารึกวรรณคดี ตำรา ความรู้ที่สำคัญๆ ไว้บนแผ่นศิลาติดไว้ตามศาลารายรอบพระอุโบสถและรอบพระมหาเจดีย์บริเวณวัดพระ เชตุพน เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและรักษาวิชาการเหล่านั้นไว้ไม่ให้สูญหายไป

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)


พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ใน สมัยรัชกาลที่ ๒บ้านเมืองเริ่มสงบจากภัยข้าศึก ความเจริญทางวัฒนธรรมจึงมีความโดดเด่นและมีมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านวรรณกรรม รัชกาลที่ ๒ ทรงมีพระปรีชาสามารถในการประพันธ์เป็นอย่างสูง ทรงนิพนธ์วรรณคดีเรื่องอิเหนา สังข์ทอง ไกรทอง กาพย์เห่เรือ เสภาขุนช้างขุนแผน ฯลฯ
สุนทร ภู่ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ศิลปินที่มีชื่อเสียงทางการประพันธ์อย่างมากที่สุดของไทยถือว่าเป็นกวีของ ประชาชน คือ สุนทรภู่ ท่านมีผลงานทางวรรณกรรมหลายประเภท คือ นิราศ บทละคร เสภากลอน กาพย์ บทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี คือ วรรณคดีเรื่อง “พระอภัยมณี”

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาหาราช (รัชกาลที่ ๑)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาหาราช (รัชกาลที่ ๑) ทรงโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นที่ฝั่งตะวัน ออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ทรงสร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้น ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและพระพุทธรูปโบราณที่ถูกทอดทิ้งให้ชำรุดตาม หัวเมืองต่างๆ มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 11 ในด้านศิลปะทรงรวบรวมช่างไทยสิบหมู่ที่สืบทอดความรู้มาตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยา ด้านวรรณกรรมนั้นทรงโปรดให้นิพนธ์วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ ส่วนทางด้านเนติธรรมทรงโปรดให้ชำระกฎหมายที่ใช้มาตั้งแต่อยุธยาให้มีความ เที่ยงธรรมและครอบคลุมมากขึ้นเรียกว่ากฎหมายตราสามดวง

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    
    
   สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรง เป็นสามัญชนโดยกำเนิดในตระกูลแต้ ทรงพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นจีนชื่อ ไหฮอง ออกจากประเทศจีนมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อนางนกเอี้ยง ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นธิดาขุนนาง ครั้งแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือเป็นธิดาของเจ้าเมืองเพชรบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชสมภพ ณ วันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 1096 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 พระ เจ้าอยู่หัวบรมโกศ หลักฐานส่วนใหญ่เชื่อว่า ทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวียนผู้ทรงปัญญาเฉลียวฉลาด และมีความสามารถพิเศษด้านกฎหมาย ช่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความ ของราษฎรทางภาคเหนืออยู่เนือง ๆ มีความชอบในแผ่นดิน ต่อมาได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง ตำแหน่งพระยาตาก
               ระหว่างเวลา 15 ปี ที่ทรงครองราชสมบัติ พระองค์ทรงรวบรวมชุมชนไทย ที่ตั้งตัวเป็นชุมนุมต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นปึกแผ่น และรวมอาณาใกล้เคียงเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของพระราชอาณาจักรธนบุรีด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 พระชนม์พรรษาได้ 48 ปี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว ในประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

       
             สมเด็จพระนเรศวรมหาราช   เป็นโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในราชวงศ์สุโขทัยกับพระวิสุทธิกษัตริย์  พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  ประสูติเมื่อ  พ.ศ. ๒๐๙๘  ที่เมืองพิษณุโลกเมื่อพระชนมายุได้  ๙  พรรษา ทรงถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดี  เพราะพม่ายึดเมืองพิษณุโลกได้  ทรงได้รับการเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมเป็นเวลา  ๗ ปี  จน พ.ศ. ๒๑๑๒  กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระมหาธรรมราชาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองขึ้นของกรุงหงสาวดี  และอนุญาตให้พระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยา  และได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกและมีตำแหน่งอุปราช  ระหว่างนั้นทรงทำสงครามกับเขมรและพม่า   เพื่อป้องกันอยุธยา พระเจ้าหงสาวดีเห็นดังนี้จึงคิดกำจัดพระนเรศวร  แต่พระองค์ทรงทราบจึงทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง รวมเวลาที่กรุงศรีอยุธยาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเป็นเวลา  ๑๕  ปี หลังจากประกาศอิสรภาพก็ทรงทำสงครามกับพม่าหลายครั้งและได้กวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองฝ่ายเหนือมาไว้เป็นกำลังได้มาก  ต่อมาในพ.ศ. ๒๑๓๓  สมเด็จพระธรรมราชาสวรรคต  พระนเรศวรจึงเสด็จขึ้นครองราชย์และทรงสถาปนาพระเอกาทศรถพระอนุชาขึ้นเป็นพระมหาอุปราช  พระราชภารกิจของพระองค์  ได้แก่  การทำศึกสงคราม  โดยเฉพาะสงครามครั้งสำคัญ  คือ  สงครามยุทธหัตถี  ที่ทรงรบกับพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย  ซึ่งพระองค์ทรงมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดและถือเป็นพระเกียรติสูงสุด  เป็นวีรกรรมสุดยอดของกษัตริย์  แม้แต่ฝ่ายแพ้ก็ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักรบแท้  หลังจากนั้นตลอดระยะเวลา ๑๕๐ ปี  กรุงศรีอยุธยาไม่ถูกรุกรานจากพม่าอีก  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางครอบคลุมทั้งล้านนา ล้านช้าง  ไทใหญ่  และกัมพูชา  รวมถึงพม่า  ครั้งสุดท้าย  คือ  การเดินทัพไปตีเมืองอังวะ  ซึ่งพระองค์ประชวร  และสวรรคตที่เมืองหาง  ใน พ.ศ. ๒๑๔๘  พระชนมายุได้  ๕๐  พรรษา  เสวยราชสมบัติได้  ๑๕  ปี   สมเด็จพระนเรศวรมหาราช   ทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะผู้กอบกู้เอกราชให้แก่กรุงศรีอยุธยา  ประชาชนชาวไทยจึงยกย่องพระองค์ให้เป็น  มหาราช  พระองค์หนึ่ง

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ


หนังสือพระราชพงศาวดาร ศักราชแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถผิดกันทั้ง ๓ ฉบับ พระราชพงศาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่มว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสวยราชย์เมื่อปีขาล จุลศักราช ๗๙๖ พ.ศ. ๑๙๗๗ ครองราชสมบัติอยู่ ๓๙ ปี สวรรคตเมื่อปีมะเส็ง จุลศักราช ๘๓๕ พ.ศ. ๒๐๑๖

ฉบับพระราชหัตถเลขานี้ว่า เสวยราชย์เมื่อปีขาล จุลศักราช ๗๙๖ พ.ศ. ๑๙๗๗ ครองราชสมบัติอยู่ ๑๕ ปี สวรรคตเมื่อปีมะเส็ง จุลศักราช ๘๑๑ พ.ศ. ๑๙๙๒ (ปีรัชกาลน้อยกว่าฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ๒๔ ปี)

ฉบับหลวงประเสริฐว่า เสวยราชย์เมื่อปีมะโรง จุลศักราช ๘๑๐ (ช้ากว่าที่ว่าในฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม ๑๔ ปี) ครองราชสมบัติอยู่ ๔๐ ปี (มากกว่า ๑๔ ปี) สวรรคตที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีวอกจุลศักราช ๘๕๐ พ.ศ. ๒๐๓๑ (ช้ากว่า ๑๕ ปี) ที่ศักราชหนังสือพระราชพงศาวดารผิดกันไปเป็นหลายอย่างด้วยเหตุใด ข้าพเจ้าจะได้อธิบายในตอนแผ่นดินสมเด็จพระอินทราชาที่ ๒ ข้าพเจ้าเชื่อว่าศักราชอย่างลงไว้ในฉบับหลวงประเสริฐนั้นเป็นถูกต้อง


ประวัติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนี้ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราช(สามพระยา) เรื่องสมถพของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกล่าวไว้ในหนังสือยวนพ่าย ให้เข้าใจว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระบรมราชาธิราชจะยกกองทัพลงไปตีเมืองเขมรนั้น ไปตั้งพลับพลารวมพลอยู่ที่ทุ่งพระอุทัย คือที่เรียกทุกวันนี้ว่าทุ่งหันตรา อยู่ข้างตะวันออกกรุงเก่า พระมเหสีกำลังทรงพระครรภ์อยู่ออกไปส่งเสด็จ ไปประสูติสมเด็จพระบรมไตรนาถที่พลับพลานั้น (เมื่อปีกุน จุลศักราช ๗๙๗ พ.ศ. ๑๙๗๔) กล่าวความนี้ไว้ในโคลงยวนพ่าย ๒ บาทว่า

"แถลงปางพระมาตุไท้ สมภพ ท่านนา
แดนตำบลพระอุทัย ท่งกว้าง" ดังนี้

ทรงพระเจริญขึ้น สมเด็จพระราชบิดาอภิเษกให้เป็นพระมหาอุปราช เมื่อปีมะเส็ง จุลศักราช ๘๐๐ พ.ศ. ๑๙๘๑ พระราชทานพระนามว่า พระราเมศวร ปีอภิเษกเป็นพระมหาอุปราชนี้ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐหลงว่าเป็นปีที่พระราเมศวรเสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก อันจะเป็นไปไม่ได้ ด้วยในปีนั้นพระชันษาพระราเมศวรได้เพียง ๗ ขวบ ถ้าอภิเษกเป็นพระมหาอุปราชอย่างอภิเษกพระบรมโอรสาธิราชนั้นเป็นได้

จำเนียรกาลต่อมา สมเด็จพระบรมราชาธิราชโปรดให้พระราเมศวรอุปราช เสด็จขึ้นไปครองหัวเมืองเหนืออยู่ที่เมืองพิษณุโลก ถ้าจะประมาณศักราชเมื่อเสด็จขึ้นไป เทียบพระชันษาว่า ๑๕ ปี (คราวๆเดียวกับพระชันษาสมเด็จพระนเรศซร เมื่อขึ้นไปแครองเมืองพิษณุโลกอย่างเดียวกันในชั้นหลัง) คงเป็นเมื่อปีขาล จุลศักราช ๘๐๘ พ.ศ. ๑๙๘๙ ครองเมืองเหนืออยู่ ๒ ปี สมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระราเมศวรก็ลงมาเสวยราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยา

ในสมัยเมื่อพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกนั้น เชื่อได้ว่าเจ้านายเชื้อพระวงศ์ของพระมหาธรรมราชายังมีอยู่เป็นแน่ (เพราะยังมีเชื้อวงศ์ต่อมาจนถึงขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งเป็นพระมหาธรรมราชาในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) แต่ในครั้งนั้นบางทีโดยมากจะเป็นเพียงชั้นหม่อมเจ้าหม่อมราชวงศ์ ถึงพวกข้าราชการครั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาก็คงจะยังมีตัวอยู่ พระราเมศวรเสด็จขึ้นไปอยู่เมืองพิษณุโลก จะได้ไปทรงสมาคม บางทีจะถึงเกี่ยวดองกับเชื้อพระวงศ์ของพระมหาธรรมราชา จึงเป็นเหตุให้ทรงทราบและทรงนิยมราชประเพณีครั้งนครสุโขทัย อันจะพึงสังเกตได้ในเหตุการณ์ต่างๆ ตั้งแต่เสด็จลงมาเสวยราชย์เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เห็นได้ว่าทรงประพฤติตามแบบอย่างราชประเพณีครั้งนครสุโขทัยโดยมาก

เนื้อความตามที่สอบได้ดังอธิบายมานี้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมภพเมื่อปีกุน จุลศักราช ๗๙๓ พ.ศ. ๑๙๗๔ เมื่อพระชันษา ๗ ปี ได้รับอภิเษกเป็นพระมหาอุปราชทรงพระนามพระราเมศวร เมื่อพระชันษา ๑๕ ได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกอยู่ ๒ ปี สมเด็จพระราชบิดาสวรรคต เสด็จลงมาครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีมะโรง จุลศักราช ๘๑๐ พ.ศ. ๑๙๙๑ เมื่อพระชันษาได้ ๑๗ เสวยราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยา ๑๕ ปี แล้วเปลี่ยนราชธานีไปประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ตั้งแต่ปีมะแม จุลศักราช ๘๒๕ พ.ศ. ๒๐๐๖ ครองราชสมบัติอยู่ที่นั้นอีก ๒๕ ปี สวรรคตที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีวอก จุลศักราช ๘๕๐ พ.ศ. ๒๐๓๑ พระชันษาได้ ๕๗ ปี รวมปีที่ได้ครองราชสมบัติอยู่ ๔๐ ปี

พระนามที่เรียกว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นี้ ในหนังสือเรื่องอื่นบางฉบับเรียกว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนายกบ้าง สมเด็จพระบรมติโลกบ้าง แต่ก็เป็นความเดียวกัน ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเป็นพระนามพิเศษถวายเฉลิมพระเกียรติยศ ดังได้อธิบายไว้ในที่อื่นแล้ว

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีลูกยาเธอที่ปรากฏพระนาม ๓ พระองค์ ไม่ปรากฏพระนามพระองค์ ๑ ที่ปรากฏพระนามนั้นคือ (๑) พระบรมราชา ซึ่งพระราชทานอภิเษกให้อยู่ครองกรุงศรีอยุธยา เมื่อเสด็จขึ้นไปครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองพิษุโลก พระบรมราชานี้ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินครองราชสมบัติต่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมาอีก ๓ ปี จึงสวรรคต แต่หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขานี้ เรียกพระนาม(โดยสำคัญผิดพระองค์)ว่า สมเด็จพระอินทราชาธิราช (๒) พระอินทราชา ปรากฏพระนามเมื่อไปรบศึกเชียงใหม่ ต้องปืนที่พระพักตร์ครั้งรบกับหมื่นนคร เห็นจะสิ้นพระชนม์ในคราวนั้น ด้วยไม่ปรากฏพระนามต่อมาอีก (๓) พระเชษฐา ที่ได้เสวยราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สมภพที่เมืองพิษณุโลก ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ฝ่ายพระชนนีจะเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้ากรุงสุโขทัยแต่ก่อนมา (๔) ที่ไม่ปรากฏพระนามนั้น คือลูกเธอพระองค์หนึ่งซึ่งกล่าวในหนังสือยวนพ่ายว่า เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจะทรงผนวช รับสั่งให้ลูกเธอพระองค์นี้เสด็จไปนิมนต์พระสงฆ์ในเมืองลังกาเข้ามานั่งหัตถบาต ลูกเธอองค์นี้จะเป็นพระองค์ใดใน ๓ พระองค์ที่กล่าวแล้วไม่ได้ จึงเห็นว่าจะเป็นอีกพระองค์หนึ่งต่างหาก

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)


สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ใน จดหมายเหตุโหรว่าเสด็จพระราชสมภพ พ.ศ. ๑๘๕๗ ได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณที่เรียกว่า หนองโสน เมื่อจุลศักราช ๗๑๒ ปีขาล โทศก วันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนห้า เวลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท ตรงกับวันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๑๘๙๓ เมื่อแรกเสวยราชย์นั้นทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ขณะพระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา

          ในประวัติศาสตร์ไทยมีความเชื่อกันว่าพระเจ้าอู่ทองอาจจะทรงอพยพมาจากเมืองใกล้เคียงอื่น เพราะอย่างน้อยก่อนที่จะทรงสถาปนาพระนครศรีอยุธยาขึ้น ก็ทรงให้ย้ายเมืองข้ามฝั่งจากบริเวณทิศใต้ ของเกาะเมืองมาตั้งอยู่บริเวณใจกลางพระนครปัจจุบัน และต่อมาทรงสถาปนาพระอารามขึ้นบริเวณ ที่ประทับเดิมหรือบริเวณเวียงเหล็ก คือวัดพุทไธศวรรย์ และได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณ เกาะเมือง

ข้อสันนิษฐานต่าง ๆเกี่ยวกับที่มาของพระเจ้าอู่ทองนั้นสรุปได้ดังนี้
           ๑. พระเจ้าอู่ทองเสด็จมาจากหัวเมืองเหนือ ปรากฏข้อความในเอกสารของลาลูแบร์ ซึ่งเป็นผู้แทนพิเศษของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เข้ามาในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ และเอกสารสายสงฆ์ เช่น ในจุลยุทธการวงศ์พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระพนรัตน์ และในพระราชพงศาวดารสังเขปของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวว่าพระเจ้าอู่ทองอพยพลงมาจากเมืองเชียงแสน ลงมาที่เมืองไตรตรึงษ์ กำแพงเพชร แล้วจึงอพยพลงมาที่หนองโสน
            ๒. เอกสารประวัติศาสตร์พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาของวันวลิต พ.ศ. ๒๑๘๒ กล่าวถึงการอพยพของพระเจ้าอู่ทองว่ามาจากเมืองเพชรบุรี แล้วจึงอพยพต่อมาที่อยุธยา
           ๓. หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากเมืองละโว้

           หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ทำให้เห็นร่องรอยว่าพระเจ้าอู่ทองเสด็จลงมาจากทางเหนือคือ “คู่มือทูตตอบ” ซึ่งเป็นคู่มือที่เรียบเรียงขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีข้อความอ้างถึงที่มาของพระเจ้าอู่ทองว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบันสืบมาแต่สมเด็จพระปฐมนารายณ์อิศวรบพิตร เมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ มีกษัตริย์สืบทอดกันมา ๑๐ พระองค์  ต่อมาสมเด็จพระยโศธรธรรมเทพราชาธิราชทรงก่อตั้ง กรุงยโศธรปุระ และมีกษัตริย์สืบมาอีก ๑๒ พระองค์ จากนั้นสมเด็จพระพนมทะเลเสด็จไปประทับที่สุโขทัยใน พ.ศ. ๑๗๓๑  ทรงตั้งเมืองเพชรบุรีมีกษัตริย์สืบต่อมา ๔ พระองค์ ในที่สุดสมเด็จพระรามาธิบดีได้ทรงสร้างกรุงสยามเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๔ รวมพระมหากษัตริย์นับแต่แรกสถาปนากรุงเมื่อพ.ศ. ๑๓๐๐ จนถึง พ.ศ. ๒๒๒๖ ได้ ๕๐ รัชกาลในระยะเวลา ๙๒๖ ปี

           คู่มือทูตฉบับนี้ สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นราว พ.ศ. ๒๒๒๔-พ.ศ. ๒๒๒๕ เพื่อใช้เป็นแนวคำถาม- ตอบของราชทูตสยามที่จะเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ  เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาพระราชอาณาจักรขึ้นแล้ว ได้ทรงทำนุบำรุงพระราช- อาณาเขตให้กว้างขวางออกไป ดังที่ปรากฏความในพระราชพงศาวดารฉบับต่าง ๆ เมื่อเสด็จเสวยราชย์ ว่า เมื่อแรกสถาปนาพระนครนั้นหลังจากพิธีกลบบัตรสุมเพลิงแล้ว ขุดดินลงไปเพื่อสร้างพระราชวัง ได้ พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏขอนหนึ่ง จึงโปรดให้สร้างพระที่นั่งองค์ต่าง ๆ ขึ้นในบริเวณพระราชวังหลวง คือ พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนตร์มหาปราสาท และพระที่นั่งไอสวรรย์มหาปราสาท

         หลังจากนั้นปรากฏความในจุลยุทธการวงศ์ว่าพญาประเทศราชทั้ง ๑๖ หัวเมืองได้มาถวายบังคม ได้แก่ มะละกา (ดินแดนแหลมมลายู) ชวา (ดินแดนลาวหลวงพระบาง) ตะนาวศรี นครศรีธรรมราช ทวาย เมาะตะมะ เมาะลำเลิง สงขลา จันทบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิชัย สวรรคโลก พิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์ หลังจากนั้นปรากฏว่ามีสงครามกับเมืองกัมพูชา จึงโปรดให้พระเจ้า ลูกเธอพระราเมศวรซึ่งไปครองเมืองลพบุรี ลงมาตั้งทัพยกออกไปถึงกรุงกัมพูชา แต่ทัพอยุธยาเกือบ เสียทีเพลี่ยงพล้ำ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ โปรดให้ขุนหลวงพะงั่วลงมาจากเมืองสุพรรณบุรี แล้ว กรีธาทัพไปช่วยสมเด็จพระราเมศวร ทำให้ทัพอยุธยาสามารถเอาชนะได้ และกวาดต้อนเทครัวชาว กัมพูชามายังพระนครศรีอยุธยา

         ในช่วงต้นรัชกาลนั้น นอกจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จะทรงทำสงครามเพื่อขยายพระราช- อาณาเขตและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักรแล้ว ยังทรงตรากฎหมายต่างๆขึ้นเพื่อรักษาความ สงบเรียบร้อยภายในอีกหลายฉบับ คือพระอัยการลักษณะพยาน พระอัยการลักษณะอาญาหลวง พระอัยการลักษณะรับฟ้อง พระอัยการลักษณะลักพา พระอัยการลักษณะอาญาราษฎร์ พระอัยการ ลักษณะโจร พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะผัวเมีย กฎหมายเหล่านี้เป็นที่มาของ กระบวนการยุติธรรมที่สร้างความสงบสุขให้แก่อาณาประชาราษฎร์ได้เป็นอย่างดี

          นอกจากนี้ในรัชกาลของพระองค์ยังมีงานวรรณคดีชิ้นสำคัญคือลิลิตโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็น วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นที่บ่งบอกความสืบเนื่องของวรรณคดีในลุ่มน้ำภาคกลางที่ผสานกับความเชื่อ ท้องถิ่น ลิลิตโองการแช่งน้ำหรือโองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีสำหรับพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา เพื่อสร้างความชอบธรรมและการแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ลักษณะการประพันธ์ ประกอบด้วยโคลงห้าและร่าย มีศัพท์ภาษาไทย บาลีสันสกฤต และเขมรปนอยู่ เนื้อหาเป็นการสดุดี เทพ แช่งผู้ที่ไม่จงรักภักดี และให้พรผู้ที่จงรักภักดี

         สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาพระอารามแห่งแรกขึ้น ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร คือวัดพุทไธศวรรย์ ซึ่งมีพระปรางค์เป็นประธานหลักของวัด ตามความในพระราชพงศาวดารว่า “ศักราชได้ ๗๑๕ ปีมะเส็งเบญศก วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๑ ค่ำ เพลาเช้า ๒ นาฬิกา ๕ บาท ทรงพระกรุณาตรัสว่า ที่พระตำหนักเวียงเหล็กนั้น ให้สถาปนาพระวิหาร พระมหาธาตุเป็นพระอาราม แล้วให้นามชื่อ “วัดพุทไธศวรรย์”

          ต่อมาพระราชพงศาวดารว่าโปรดให้ขุดศพเจ้าแก้ว เจ้าไทย ขึ้นมาถวายพระเพลิง  จากนั้นให้สถาปนาพระอารามขึ้นบริเวณนั้นเรียกว่าวัดป่าแก้ว ซึ่งเชื่อกันว่าคือบริเวณวัดใหญ่ชัยมงคล  นอกจากนั้นยังสันนิษฐานได้ว่าทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ดังที่พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตว่าทรงสร้างวัดหน้าพระธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดเดิมขึ้น

          สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทองเสด็จสวรรคตเมื่อจุลศักราช ๗๓๑ ปีระกาเอกศก ตรงกับ พ.ศ. ๑๙๑๒ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าอยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี

พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)


ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในสมัยสุโขทัย
     ในสมัยสุโขทัย  มีพระมหากษัตริย์ที่ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญอยู่หลายพระองค์ที่ได้สร้างผลงานอันมีคุณค่า  ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและมีผลดีต่ออาณาจักรที่เราควรศึกษาในชั้นนี้  ได้แก่
     พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)
          1.  พระราชประวัติ
               พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  ทรงเป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทยก่อนที่จะเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ  พระองค์ไดไปปกครองดูแลเมืองศรีสัชนาลัย  ซึ่งอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวง
          2.  พระราชกรณียกิจ
               (1)  ด้านการเมืองการปกครอง  พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  ได้รวบรวมเมืองต่าง ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย  โดยครอบคลุมเมืองระหว่างลุ่มแม่น้ำปิง  แม่น้ำน่าน  และแควป่าสัก  ได้แก่  เมืองเชียงทอง (ตาก)  กำแพงเพชร  พระบาง (นครสวรรค์)  ปากยม (พิจิตร)  สองแควสระหลวง (พิษณุโลก)  ขึ้นไปจึงถึงเมืองราด  เมืองสะค้า  และเมืองลุมบาจาย  นอกจากนี้ยังทรงย้ายไปประทับที่เมืองพิษณุโลก  เพื่อป้องกันการขยายอำนาจของอาณาจักรอยุธยาอีกด้วย
                    พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  ทรงนำหลักการปกครองแบบธรรมราชา  ที่พระมหากษัตริย์จะต้องประพฤติปฏิบัติตนตามหลักทศพิธราชธรรมมาใช้ในการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
               (2)  ด้านศาสนา  พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง  โดยพระองค์ทรงผนวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดป่ามะม่วง  และยังทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง  หรือเตรภูมิกถา  ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา  และนับว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

   
             พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย  เสวยราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึงปีใดไม่ปรากฏ พระนามเดิมคือพ่อขุนบางกลางหาว มีมเหสีคือนางเสือง มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ พระราชธิดา ๒ พระองค์ พระราชโอรสองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ส่วนพระราชโอรสองค์ที่ ๒ และ ๓ คือพ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงทรงครองราชย์ต่อมาตามลำดับ เดิมพ่อขุนบางกลางหาวทรงเป็นเจ้าเมืองอยู่ที่ใดไม่ปรากฏ แต่ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๒ ทำให้ทราบว่าอยู่ใต้เมืองบางยางลงไป มีผู้เสนอความเห็นว่าพ่อขุนบางกลางหาวน่าจะอยู่แถวกำแพงเพชร

            ก่อนราชวงศ์พระร่วงอาณาจักรสุโขทัยมีราชวงศ์พ่อขุนศรีนาวนำถุมครองอยู่ ในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถุมซึ่งเริ่มประมาณ พ.ศ. ๑๗๖๒ อาณาจักรสุโขทัยครอบคลุมถึงเมืองฉอด (ใกล้แม่น้ำเมย) ลำพูน น่าน พิษณุโลก ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยตกอยู่ใต้อำนาจขอมสบาดโขลญลำพง จนกระทั่งพ่อขุนผาเมืองโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุมทรงร่วมมือกับพ่อขุนบางกลางหาวขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงไป   พ่อขุนบางกลางหาวทรงยึดเมืองศรีสัชนาลัยได้และทรงเวนเมืองให้พ่อขุนผาเมือง พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์สุโขทัย พ่อขุนผาเมืองซึ่งเป็นพระชามาดา (ลูกเขย)ของกษัตริย์ขอมทรงยกพระนามศรีอินบดินทราทิตย์ซึ่งพระองค์ได้รับมาจากกษัตริย์ขอมมอบให้แก่พ่อขุนบางกลางหาว แต่พ่อขุนบางกลางหาวทรงใช้พระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ บางทีอาจจะทรงเห็นว่าพระนามเดิมมาจากคำ อินทรปัต + อินทร + อาทิตย์ แสดงว่าอยู่ใต้อินทรปัตซึ่งเป็นเมืองหลวงของขอม (ดังปรากฏในจารึกหลักที่ ๒) ก็เป็นได้

             การที่พ่อขุนผาเมืองทรงยกสุโขทัยและอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ อาจจะทรงเห็นว่าสุโขทัยในขณะนั้นเป็นเมืองเล็กกว่าศรีสัชนาลัย หรืออาจจะเป็นเพราะว่านางเสือง พระมเหสีของพ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระภคินี (พี่สาว) ของพ่อขุนผาเมือง พ่อขุนบางกลางหาวจึงทรงมีสิทธิที่จะได้ครองเมืองก่อนพ่อขุนผาเมืองก็เป็นได้

             พ่อขุนผาเมืองเป็นเจ้าเมืองราด มีพระอนุชาคือพระยาคำแหงพระรามครองเมืองสระหลวงสองแคว (พิษณุโลก) โอรสของพระยาคำแหงพระราม คือ มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เมื่อเป็นฆราวาสมีฝีมือในการสู้รบ ได้ชนช้าชนะหลายครั้ง รู้ศิลปศาสตร์หลายประการ ขณะอายุ ๓๐ ปีมีบุตรแต่เสียชีวิต มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีจึงออกบวช ได้ไปปลูกต้นโพธิ์ สร้างพิหาร อาวาส และซ่อมแซมพระศรีรัตนมหาธาตุทั้งในและนอกประเทศ เช่น พม่า อินเดีย และลังกา

            อนึ่ง เมืองราดตั้งอยู่ที่ใดมีผู้สันนิษฐานไว้ต่างๆ กันสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าเมืองราดน่าจะอยู่ที่เพชรบูรณ์และเมืองลุมคือเมืองหล่มเก่าแต่ผู้เขียน(ประเสริฐ ณ นคร) วางตำแหน่งเมืองราดเมืองสะค้าและเมืองลุมบาจายไว้ที่ลุ่มแม่น้ำน่านด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
จากจารึกหลักที่ ๒ ทำให้ทราบว่าเมืองราดเมืองสะค้าและเมืองลุมบาจายเป็นกลุ่มเมืองที่อยู่ใกล้กันพ่อขุนผาเมืองอยู่เมืองราดและกษัตริย์น่านมีพระนามผานองผากองและผาสุมแต่กษัตริย์เมืองอื่นไม่ใช้“ผา”นำหน้าพระนามเลยพ่อขุนผาเมืองจึงน่าจะเป็นกษัตริย์น่าน(คือเมืองราดนั่นเอง)นอกจากนี้ยังมีพระราชโอรสของกษัตริย์น่านมีพระนามว่าบาจายอาจจะแสดงว่าน่านมีอำนาจเหนือบาจายแบบพระนามกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์แสดงว่ากรุงเทพฯมีอำนาจเหนือราชบุรีนั่นเอง

              อีกประการหนึ่ง จารึกหลักที่ ๘ กล่าวถึงไพร่พลของพระเจ้าลิไทยว่ามีทั้งชาวสระหลวงสองแควพระบางฯลฯเริ่มตั้งแต่เมืองทางทิศตะวันออกของสุโขทัยแล้วกวาดไปทางใต้ทางทิศตะวันตกทางทิศเหนือจนกลับมาจบที่ทิตะวันออกตามเดิมจารึกหลักอื่นเช่นหลักที่ ๓๘ และจารึกวัด อโสการาม (หลักที่๙๓) ก็ใช้ระบบเดียวกันโดยถือตามพระพุทธศาสนาว่าตะวันออกเป็นทิศหน้าแล้ววนตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากสระหลวงสองแควคือพิษณุโลกไปปากยม(พิจิตร)พระบางไปชากังราวสุพรรณภาวกำแพงเพชรรวม ๓ เมืองที่กำแพงเพชรบางพาน(อำเภอพานกระต่ายกำแพงเพชร)ต่อไปจะถึงราดสะค้า ลุมบาจายซึ่งจะอยู่ระหว่างทิศเหนือกวาดมาทางทิศตะวันออกของสุโขทัยและย่อมจะอยู่เหนือสระหลวงสองแควขึ้นไป จารึกหลักที่ ๑ วางลุมบาจายและสะค้าไว้ระหว่างพิษณุโลกกับเวียงจันทน์


               อีกประการหนึ่ง ตอนพ่อขุนผาเมืองยกมาช่วยพ่อขุนบางกลางหาวรบกับขอมสบาดโขลญลำพงที่สุโขทัยถ้าหากพ่อขุนผาเมืองอยู่แถวเพชรบูรณ์คงจะมาช่วยไม่ทันสินชัยกระบวนแสงจากคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากรพบใบลานที่วัดช้างค้ำเมืองน่านกล่าวถึงเหตุการณ์สมัยรัชกาลที่ ๒ ว่า เจ้าผู้ครองน่านขึ้นตามแม่น้ำน่านไปถึงอำเภอท่าปลา (ปัจจุบันคือจังหวัดอุตรดิตถ์) ใกล้ห้วยแม่จริม“เมืองราดเก่าหั้น”แสดงว่าสมัยต้นรัตนโกสินทร์ยังทราบกันดีว่าเมืองราดอยู่บนแม่น้ำน่านใกล้อำเภอท่าปลา

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช




เมื่อพ่อขุนบานเมืองสววคตแล้ว  ผูที่สืบทอดราชสมบัติต่อมา คือ  พ่อขุนรามคำแหง  พระองค์ทรงได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองที่สุด 
        พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตามความปรากฏในจารึกหลักที่ 1มีใจความว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระโอรสด้วยพระชายาพระนามว่า นางเสือง 3 องค์ พระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์ พระองค์กลางทรงพระนามว่า บาลเมือง ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า "พ่อกูชื่อ  ศรีอินทราทิตย์  แม่กู  ชื่อนางเสือง  พี่กูชื่อ  บานเมือง  ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน  ผูชายสาม  ผูหญิงโสง"
        พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงพระราชสมภพปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน ตามหลักฐานพงศาวดารเมืองเหนือ คือ พงศาวดารเมืองโยนก กล่าวว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระสหายสนิทและรุ่นราวคราวเดียวกับพญาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงใหม่ และพญางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา ทรงศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสำนักสุกกทันตฤาษี ณ เมือง ละโว้ (ลพบุรี) เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับพญางำเมือง ในขณะที่ทรงเล่าเรียนศิลปวิทยาอยู่ร่วมกันนั้นพญางำเมืองเจริญพระชันษาได้ 16 ปี
        เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นอิสระแล้ว ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกกองทัพมาตีเมืองตากอันเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันตกของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ยกกองทัพออกไปสู้รบกับขุนสามชน และพระราชโอรสองค์ที่สามซึ่งเจริญพระชันษาย่างเข้า 19 ปี ทรงเป็นนักรบที่เข้มแข็งในการสงครามเข้าชนช้างชนะขุนสามชน พวกเมืองฉอดจึงได้แตกพ่ายไป เมื่อชนช้างชนะขุนสามชนคราวนั้นแล้ว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชบิดาจึงพระราชทานเจ้ารามเป็น "พระรามคำแหง" ซึ่งคงจะหมายความว่าพระรามผู้เข้มแข็ง หรือ เจ้ารามผู้เข้มแข็ง
        พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์องค์ที่สามต่อจากพระเชษฐา  คือ  พ่อขุนบานเมืองแห่งราชวงศ์พระร่วง ศักราชที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1) คือ มหาศักราช 1205 (พ.ศ. 1826) นั้นเป็นปีที่พระองค์ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น มหาศักราช 1207 (พ.ศ. 1828) ทรงสร้างพระมหาธาตุเมืองศรีสัชนาลัย (เข้าใจว่า คือ พระเจดีย์ที่วัดช้างล้อม ในปัจจุบัน) มหาศักราช 1214 (พ.ศ. 1835)โปรดให้สร้างแท่นหิน ชื่อ พระแท่นมนังศิลาบาตร และสร้างศาลา 2 หลังชื่อ ศาลาพระมาสและพุทธศาลา ประดิษฐานไว้กลางดงตาล เพื่อเป็นที่ประทับว่าราชการและทรงสั่งสอนข้าราชการและประชาชนในวันธรรมดา ส่วนวันอุโบสถโปรดให้พระสงฆ์นั่งสวดพระปาติโมกข์และแสดงธรรม รัชสมัยของพระองค์รุ่งเรืองยิ่งกว่ารัชกาลใด ๆ ราชอาณาเขตแผ่ขยายไปกว้างขวาง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างที่เรียกกันว่า "ไพร่ฟ้าหน้าใส" การพาณิชย์เจริญก้าวหน้า ศิลปวิทยาเจริญรุ่งเรืองหลาย
ประการ  ดังนี้
       ด้านกาปกครอง  เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชขึ้นครองราชย์  ได้แบ่งการปกครองออกมา  3  รูปแบบ ได้แก่
      ๑.การปกครองพลเมืองยังถือตามคติของคนไทยแต่เดิมอยู่ กล่าวคือ ปกครองอย่างพ่อปกครองลูก  หรือปิตุรักษ์ (Paternalism)   ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางพระองค์อย่างบิดาปกครองบุตรด้วยการสอดส่องความเป็นอยู่ของราษฎร ใครทุกข์ร้อนจะทูลร้องทุกข์เมื่อใดก็ได้ โปรดให้แขวนกระดิ่งที่ประตูพระราชวัง เมื่อราษฎรมีทุกข์ก็ไปสั่นกระดิ่งนั้นให้ได้ยินถึงพระกรรณได้เป็นนิจ ดังข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า
        "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจมันจะกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันโดยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม.."
        และในหลักจารึกที่๑ ด้านที่๓  ได้กล่าวไว้ว่า "ผิใช่วันสวดธรรม  พ่อขุนรามคำแหง  เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย  ขึ้นนั่งเหนือธะดารหิน  ให้ฝูงทวยลูกเจ้าขุน  ฝูงถ่วยถือบ้านเมืองกัน"  จากคำจารึกนี้แสดงว่า  พ่อขุนรามคำแหงมีความห่วงใยต่อข้าราชบริพาร  แม้แต่การตายยังทรงเป็นธุระเหมือนพ่อช่วยปลอบยามลูกมีทุกข์  นอกจากนี้ยังทรงเป็นธุระในการอบรมราชวงศ์  ข้าราชกาและประชาชนให้มีความู้ในการบ้านเมือง  และให้ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี
        ๒.การปกครองแบบกระจายอำนาจแบ่งการปกครองออกเป็น  3 ระดับ คือ ระดับศูนย์กลาง  ระดับปฏิบัติตามนโยบาย  และระดับส่งเครื่องราชบรรณาการ 
                         กรุงสุโขทัย  เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง ให้มีลูกหลวงเป็นเมืองรองจากเมืองหลวง  และเป็นเมืองชั้นในตั้งอยู่สี่ทิศ มีความสำคัญทงยุทธศาสตร์ มีความใกล้ชิดกัเมืองหลวงมากที่สุด  เมืองหลวงกำหนดนโยบายในการบริหารและกำกับ
                        เมืองลูกหลวง หมายถึง  เมืองชั้นในที่รับนโยบายจากเมืองหลวงไปปฏิบัติ  อำนาจเป็นอำนาจของผู้ครองเมือง  บทบทหน้าที่สำคัญคือ  การป้องกันการรุกรานจากภายนอก  จึงได้กำหนอกเมืองในลักษณะนี้ไว้ทั้งสี่ทิศ  ผู้ที่จะมาครองเมืองลูกหลวงจะเป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ไว้วางพระทัยมากที่สุด  ทิศเหนือ คือ เมืองศรีสัชนาลัย  ทิศตะวันออก  คือ เมืองสองแคว(พิษณุโลก)  ทิศใต้ คือ มืองพระบาง(นครสวรรค์)  ทิศตะวันตก  คือ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร)
                       เมืองพระยามหานคร  เป็นเมืองเล็กเมืองน้อยซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์เดิมของเมืองนั้น ๆ เป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น "ขุน"   มีอำนาจในการปกครองตนเอง แต่ยังอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของสุโขทัย
                      ศิลาจารึกหลักที่ ๓ ได้จารึกไว้ว่า มีเมืองพระยามหานครได้แก่  เมืองคณฑี  เมืองเชียงทอง  เมืองพระบาง เมืองพาน  เมืองบางฉลัง เป็นต้น 
                     เมืองประเทศราช  บางครั้งเรียกว่า "เมืองออก" หรือ  "เมืองขึ้น"  ได้แก่ เมืองหรือแคว้นต่างๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เองบ้าง  หรือเมืองที่ยกทัพไปสู้รบจนยึดครองไว้ได้  เมืองเหล่านั้นอยู่ห่างไกลกับสุโขทัยยากแก่การปกครอง  จึงมีการมอบอำนาจทั้งหมดให้แก่เจ้าเมืองหรือผู้นำแคว้น  เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายเป็นประจำปี  เมืองประเทศราชได้แก่  เมืองในภาคกลาง  ตลอดไปจนถึงแหลมมลายูทั้งหมด และทางภาคเหนือ เช่น แพร่ น่าน พลั่ว เป็นต้น
        ลักษณะการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีลักษณะคล้ายการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างไร ?
                ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  การปกครองคล้ายระบอบประชาธิปไตย  ไม่ถึงกับเป็นรูปแบบ  เป็นแต่เพียงประชาชนมีสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเท่านั้น  เช่น  มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ  ทรัพย์สินบ้านเรือน  การเดินทางไปต่างถิ่น  การแสวงหาความยุติธรรม  ดั่งปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกที่ ๑ ว่า "...เมืองสุโขทัยนี้ดี...เพื่อนจูงวัวไปค้า  ขี่ม้าไปขาย  ใครจักใคร่ค้าช้างค้า  ใครจักใคร่ค้าม้าค้าใครจักใคร่ค่าเงือนค้าทองคำ..."
         กฎหมายในสมัยสุโขทัยมีสาระสำคัญอย่างไร ?
         กฏหมายพื้นฐาน  ของกรุงสุโขทัยมีอยู่  ๒  เรื่อง  คือ  กฏหมายเกี่ยวกับมรดก  และกฏหมายเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน  ซึ่งปรากฏอยู่บนศิลาจารึกเขากบ  ของพ่อขุนรามำแหง พ.ศ.๑๘๓๕  มีสาระถอดความดังนี้    
        กฎหมายเกี่ยวกับมรดก  ได้กล่าวว่า "ทรัพย์สมบัติทุกชนิดของบิดานั้น  เมื่อยิดาเสียชีวิตลงแล้วจะต้องตกเป็นของบุตรทั้งสิน" ดังข้อความในจารึกว่า 
        "ลุกเจ้าลูกขุนผู้ใดเล้  ล้มตายหายกว่า  เย้าเรือนพ่อ  เชื้อเสื้อคำมัน  ช้างของลูกเมียเยียข้าว  ไพร่ฟ้าค่าไท  ปลามาปลากู พ่อเชื้อมัน  ไว้แก่ลูกมันสิ้น"
         กฎหมายยเกี่ยวกับสิทธิที่ดิน  ได้กล่าวว่า  "หากมีความขันแข็งที่จะขยายที่ดินเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป  ก็ให้ที่ดินตกเป็นของผู้นั้น"  นับว่าเป็นนโยบายส่งเสริมให้กับประชาชนขยายพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรม และเป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจด้วย  ดังข้อความในศิลาจารึกดังนี้
          "สร้างป่ามา ป่าพลู ทั่วมืองทุกแห่ง  ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าสางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้  หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน"         
        การพัฒนาบ้านเมือง  พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมาก  พระองค์ได้ทรงพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน ดังนี้
        ๑.การปกครองในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ปรับปรุงรูปแบบในลักษณะต่างๆหลายลักษณะ
        ๒.นโยบายทางการเมืองระหว่างอาณาจักรและต่างประเทศ  มุ่งเน้นความมั่นคง
        ๓.เศรษฐกิจ  ส่งเสริมให้มีการค้าขายอย่างเสรีในเมืองสุโขทัยเอง  และอาณาจักรอื่นๆ
        ๔.ด้านสังคม  ส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุขบนพื้นฐานคำสอนศาสนา
        ๕.ด้านความเชื่อ  ทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
         ๖.ศิลปวัฒนธรรม  สุโขทัยมีศิลปวัฒนธรรม หลายอย่างสืบทอดกันจนมาถึงปัจจุบัน  และเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยในปัจจุบัน