เมื่อพ่อขุนบานเมืองสววคตแล้ว ผูที่สืบทอดราชสมบัติต่อมา คือ พ่อขุนรามคำแหง พระองค์ทรงได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองที่สุด
พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตามความปรากฏในจารึกหลักที่ 1มีใจความว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระโอรสด้วยพระชายาพระนามว่า นางเสือง 3 องค์ พระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์ พระองค์กลางทรงพระนามว่า บาลเมือง ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า "พ่อกูชื่อ ศรีอินทราทิตย์ แม่กู ชื่อนางเสือง พี่กูชื่อ บานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผูชายสาม ผูหญิงโสง"
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงพระราชสมภพปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน ตามหลักฐานพงศาวดารเมืองเหนือ คือ พงศาวดารเมืองโยนก กล่าวว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระสหายสนิทและรุ่นราวคราวเดียวกับพญาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงใหม่ และพญางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา ทรงศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสำนักสุกกทันตฤาษี ณ เมือง ละโว้ (ลพบุรี) เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับพญางำเมือง ในขณะที่ทรงเล่าเรียนศิลปวิทยาอยู่ร่วมกันนั้นพญางำเมืองเจริญพระชันษาได้ 16 ปี
เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นอิสระแล้ว ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกกองทัพมาตีเมืองตากอันเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันตกของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ยกกองทัพออกไปสู้รบกับขุนสามชน และพระราชโอรสองค์ที่สามซึ่งเจริญพระชันษาย่างเข้า 19 ปี ทรงเป็นนักรบที่เข้มแข็งในการสงครามเข้าชนช้างชนะขุนสามชน พวกเมืองฉอดจึงได้แตกพ่ายไป เมื่อชนช้างชนะขุนสามชนคราวนั้นแล้ว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชบิดาจึงพระราชทานเจ้ารามเป็น "พระรามคำแหง" ซึ่งคงจะหมายความว่าพระรามผู้เข้มแข็ง หรือ เจ้ารามผู้เข้มแข็ง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์องค์ที่สามต่อจากพระเชษฐา คือ พ่อขุนบานเมืองแห่งราชวงศ์พระร่วง ศักราชที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1) คือ มหาศักราช 1205 (พ.ศ. 1826) นั้นเป็นปีที่พระองค์ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น มหาศักราช 1207 (พ.ศ. 1828) ทรงสร้างพระมหาธาตุเมืองศรีสัชนาลัย (เข้าใจว่า คือ พระเจดีย์ที่วัดช้างล้อม ในปัจจุบัน) มหาศักราช 1214 (พ.ศ. 1835)โปรดให้สร้างแท่นหิน ชื่อ พระแท่นมนังศิลาบาตร และสร้างศาลา 2 หลังชื่อ ศาลาพระมาสและพุทธศาลา ประดิษฐานไว้กลางดงตาล เพื่อเป็นที่ประทับว่าราชการและทรงสั่งสอนข้าราชการและประชาชนในวันธรรมดา ส่วนวันอุโบสถโปรดให้พระสงฆ์นั่งสวดพระปาติโมกข์และแสดงธรรม รัชสมัยของพระองค์รุ่งเรืองยิ่งกว่ารัชกาลใด ๆ ราชอาณาเขตแผ่ขยายไปกว้างขวาง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างที่เรียกกันว่า "ไพร่ฟ้าหน้าใส" การพาณิชย์เจริญก้าวหน้า ศิลปวิทยาเจริญรุ่งเรืองหลาย
ประการ ดังนี้
ด้านกาปกครอง เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชขึ้นครองราชย์ ได้แบ่งการปกครองออกมา 3 รูปแบบ ได้แก่
๑.การปกครองพลเมืองยังถือตามคติของคนไทยแต่เดิมอยู่ กล่าวคือ ปกครองอย่างพ่อปกครองลูก หรือปิตุรักษ์ (Paternalism) ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางพระองค์อย่างบิดาปกครองบุตรด้วยการสอดส่องความเป็นอยู่ของราษฎร ใครทุกข์ร้อนจะทูลร้องทุกข์เมื่อใดก็ได้ โปรดให้แขวนกระดิ่งที่ประตูพระราชวัง เมื่อราษฎรมีทุกข์ก็ไปสั่นกระดิ่งนั้นให้ได้ยินถึงพระกรรณได้เป็นนิจ ดังข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า
"…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจมันจะกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันโดยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม.."
และในหลักจารึกที่๑ ด้านที่๓ ได้กล่าวไว้ว่า "ผิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือธะดารหิน ให้ฝูงทวยลูกเจ้าขุน ฝูงถ่วยถือบ้านเมืองกัน" จากคำจารึกนี้แสดงว่า พ่อขุนรามคำแหงมีความห่วงใยต่อข้าราชบริพาร แม้แต่การตายยังทรงเป็นธุระเหมือนพ่อช่วยปลอบยามลูกมีทุกข์ นอกจากนี้ยังทรงเป็นธุระในการอบรมราชวงศ์ ข้าราชกาและประชาชนให้มีความู้ในการบ้านเมือง และให้ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี
๒.การปกครองแบบกระจายอำนาจแบ่งการปกครองออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับศูนย์กลาง ระดับปฏิบัติตามนโยบาย และระดับส่งเครื่องราชบรรณาการ
กรุงสุโขทัย เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง ให้มีลูกหลวงเป็นเมืองรองจากเมืองหลวง และเป็นเมืองชั้นในตั้งอยู่สี่ทิศ มีความสำคัญทงยุทธศาสตร์ มีความใกล้ชิดกัเมืองหลวงมากที่สุด เมืองหลวงกำหนดนโยบายในการบริหารและกำกับ
เมืองลูกหลวง หมายถึง เมืองชั้นในที่รับนโยบายจากเมืองหลวงไปปฏิบัติ อำนาจเป็นอำนาจของผู้ครองเมือง บทบทหน้าที่สำคัญคือ การป้องกันการรุกรานจากภายนอก จึงได้กำหนอกเมืองในลักษณะนี้ไว้ทั้งสี่ทิศ ผู้ที่จะมาครองเมืองลูกหลวงจะเป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ไว้วางพระทัยมากที่สุด ทิศเหนือ คือ เมืองศรีสัชนาลัย ทิศตะวันออก คือ เมืองสองแคว(พิษณุโลก) ทิศใต้ คือ มืองพระบาง(นครสวรรค์) ทิศตะวันตก คือ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร)
เมืองพระยามหานคร เป็นเมืองเล็กเมืองน้อยซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์เดิมของเมืองนั้น ๆ เป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น "ขุน" มีอำนาจในการปกครองตนเอง แต่ยังอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของสุโขทัย
ศิลาจารึกหลักที่ ๓ ได้จารึกไว้ว่า มีเมืองพระยามหานครได้แก่ เมืองคณฑี เมืองเชียงทอง เมืองพระบาง เมืองพาน เมืองบางฉลัง เป็นต้น
เมืองประเทศราช บางครั้งเรียกว่า "เมืองออก" หรือ "เมืองขึ้น" ได้แก่ เมืองหรือแคว้นต่างๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เองบ้าง หรือเมืองที่ยกทัพไปสู้รบจนยึดครองไว้ได้ เมืองเหล่านั้นอยู่ห่างไกลกับสุโขทัยยากแก่การปกครอง จึงมีการมอบอำนาจทั้งหมดให้แก่เจ้าเมืองหรือผู้นำแคว้น เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายเป็นประจำปี เมืองประเทศราชได้แก่ เมืองในภาคกลาง ตลอดไปจนถึงแหลมมลายูทั้งหมด และทางภาคเหนือ เช่น แพร่ น่าน พลั่ว เป็นต้น
ลักษณะการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีลักษณะคล้ายการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างไร ?
ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช การปกครองคล้ายระบอบประชาธิปไตย ไม่ถึงกับเป็นรูปแบบ เป็นแต่เพียงประชาชนมีสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเท่านั้น เช่น มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ทรัพย์สินบ้านเรือน การเดินทางไปต่างถิ่น การแสวงหาความยุติธรรม ดั่งปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกที่ ๑ ว่า "...เมืองสุโขทัยนี้ดี...เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้าใครจักใคร่ค่าเงือนค้าทองคำ..."
กฎหมายในสมัยสุโขทัยมีสาระสำคัญอย่างไร ?
กฏหมายพื้นฐาน ของกรุงสุโขทัยมีอยู่ ๒ เรื่อง คือ กฏหมายเกี่ยวกับมรดก และกฏหมายเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งปรากฏอยู่บนศิลาจารึกเขากบ ของพ่อขุนรามำแหง พ.ศ.๑๘๓๕ มีสาระถอดความดังนี้
กฎหมายเกี่ยวกับมรดก ได้กล่าวว่า "ทรัพย์สมบัติทุกชนิดของบิดานั้น เมื่อยิดาเสียชีวิตลงแล้วจะต้องตกเป็นของบุตรทั้งสิน" ดังข้อความในจารึกว่า
"ลุกเจ้าลูกขุนผู้ใดเล้ ล้มตายหายกว่า เย้าเรือนพ่อ เชื้อเสื้อคำมัน ช้างของลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าค่าไท ปลามาปลากู พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น"
กฎหมายยเกี่ยวกับสิทธิที่ดิน ได้กล่าวว่า "หากมีความขันแข็งที่จะขยายที่ดินเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป ก็ให้ที่ดินตกเป็นของผู้นั้น" นับว่าเป็นนโยบายส่งเสริมให้กับประชาชนขยายพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรม และเป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจด้วย ดังข้อความในศิลาจารึกดังนี้
"สร้างป่ามา ป่าพลู ทั่วมืองทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าสางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน"
การพัฒนาบ้านเมือง พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมาก พระองค์ได้ทรงพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน ดังนี้
๑.การปกครองในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ปรับปรุงรูปแบบในลักษณะต่างๆหลายลักษณะ
๒.นโยบายทางการเมืองระหว่างอาณาจักรและต่างประเทศ มุ่งเน้นความมั่นคง
๓.เศรษฐกิจ ส่งเสริมให้มีการค้าขายอย่างเสรีในเมืองสุโขทัยเอง และอาณาจักรอื่นๆ
๔.ด้านสังคม ส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุขบนพื้นฐานคำสอนศาสนา
๕.ด้านความเชื่อ ทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
๖.ศิลปวัฒนธรรม สุโขทัยมีศิลปวัฒนธรรม หลายอย่างสืบทอดกันจนมาถึงปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยในปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น